CAMU C INGREDIENTS
คามู คามู
คามู คามู เป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็น Super Fruit ที่ให้ค่า ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) ที่แสดงถึงความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบสูงเป็นผลไม้ที่พบได้ไม่ยากในอเมริกาใต้
คนท้องถิ่นจึงนิยมนำมาทำอาหารหลายชนิด ทั้งน้ำผลไม้ ไอศกรีม แยม โยเกิร์ต และปรุงอาหารอื่นๆ
นอกจากนี้ คามู คามู ยังถูกนำไปใช้เป็น Functional Food ทั่วโลก และใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์วิตามินซีสูง ที่เราพบกันทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบสารสกัดจากผลสด เช่น ผงคามู คามู, คามู คามู ชนิดเม็ด และชนิดแคปซูล เป็นต้น ส่วนในบ้านเราก็เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและบำรุงผิวพรรณให้แลดูกระจ่างใส
คามู คามู เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กประมาณ 3-5 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myrciaria dubia มีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ริมน้ำของเขตป่าฝน แถบแอมะซอน ที่กินบริเวณหลายประเทศ ตั้งแต่ บราซิล เวเนซุเอลา โคลัมเบีย และเปรู มีชื่อในภาษาถิ่นว่า camucamu, camocamo และ cacari มีผลสีม่วงแดงคล้ายผลเชอร์รี ขนาดเท่าผลมะนาวใหญ่ๆ ใบและผลสามารถทำยาสมุนไพรได้สารพัด มีคุณสมบัติต้านการติดเชื้อไวรัส รักษาแผล งูสวัด เป็นยาแก้ไข้ ปวดหัว แก้หอบหืด แก้อาการเซื่องซึม รักษาสมดุลทางอารมณ์ รักษาต้อหิน ต้อกระจก เพิ่มภูมิคุ้มกัน รวมถึงการต้านอนุมูลอิสระ
คามู คามู คือ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมากกว่าปริมาณของวิตามินซีในเลมอนถึง 103 เท่า นอกจากนี้ ยังมีเบตา-แคโรทีน โปรตีน และกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
แหล่งที่มาของข้อมูล
- อภิรดา มีเดช, 2014, อะไรคือ คามู คามู, https://waymagazine.org/camucamu, ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564
- Roberta B. Rodriguesa, Hilary C. De Menezesa, Lourdes M.C. Cabralb, Manuel Dornierc,d*, Max Reynesc,d, 2001, An Amazonian fruit with a high potential as a natural source of vitamin C: the camu-camu (Myrciaria dubia), Fruits, vol. 56 (5), p 345-354
วิตามินซี
วิตามิน C เป็นสารที่มีส่วนช่วยในสร้างคอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ปกป้องเซลล์และต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ รวมถึงช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (THAI FDA) แนะนำให้ประชากรปกติ รับประทานวิตามิน C อย่างน้อย 60 mg ต่อวัน
วิตามินซีจัดเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง ต้องได้จากการรับประทานอาหาร หรือรับประทานในรูปแบบวิตามินเสริมเข้าไปเท่านั้น
ชนิดหรือแหล่งที่มาของวิตามินซีสำหรับการรับประทานเสริมในปัจจุบัน พบว่ามีทั้งที่เป็นวิตามินซีจากธรรมชาติ (Natural Vitamin C) ซึ่งสกัดได้จากผักและผลไม้ต่างๆ ที่มีรสเปรี้ยว และวิตามินซีสังเคราะห์(Synthetic Vitamin C) ซึ่งได้จากกระบวนสังเคราะห์ทางเคมี จากรายงานการศึกษาทดลองในมนุษย์ ยังไม่พบรายงานว่าวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ผลของชีวประสิทธิผลที่ต่างกัน ดังนั้นการรับประทานวิตามินซีจากธรรมชาติ หรือวิตามินซีสังเคราะห์ ร่างกายก็จะได้รับวิตามินซีในปริมาณที่ไม่ต่างกัน
แหล่งที่มาของข้อมูล
- อ.ดร.สุภาวดี สืบศาสนา, สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนการพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร“วิตามินซี”, บทความเผยแพร่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, https://pharm.tu.ac.th/rx-articles, ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564
- เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, 2562, บัญชีแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร, ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร, หน้า 5-6
- รัฐมมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, 2541, สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป, แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) เรื่องฉลากโภชนาการ, หน้า 3-3
วิตามิน B12
วิตามิน B12 เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกาย มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นกุญแจสำคัญ ที่มีส่วนช่วยในการทำงานเป็นปกติของประสาทและสมอง
วิตามิน B12 เป็นกลุ่มของสารอาหารที่มีโคบอลต์ (Co) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด จัดเป็นสารอาหารประเภทวิตามินที่ละลายในน้ำ วิตามิน B12 เป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบ และเป็นวิตามินที่มีโครงสร้างซับซ้อน ขนาดโมเลกุลใหญ่ที่สุด และสามารถสังเคราะห์ได้ โดยการหมักแบคทีเรีย (Bacterial Fermentation-synthesis) แล้วนำมาใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม
แหล่งของวิตามิน B12 ที่ได้พิสูจน์แล้ว คือ ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วหมัก (ถั่วเน่า) เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว และผักใบสีเขียวแก่ และเป็นที่น่าสังเกตว่า วิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช
การขาดวิตามิน B12 เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคโลหิตจาง และก่อให้เกิดอาการหดหู่ มือเท้าชา อ่อนเพลีย เซื่องซึม ปวดศีรษะ หูอื้อ เป็นแผลในปาก ตาพร่ามัว และอาจพบการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อีกด้วย
แหล่งที่มาของข้อมูล
- เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, 2562, บัญชีแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร, ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร, หน้า 5
- Yamada, Kazuhiro (2013). "Chapter 9. Cobalt: Its Role in Health and Disease". ใน Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland KO (บ.ก.). Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. 13. Springer. p 295 -320. doi:10.1007/978-94-007-7500-8_9
- "Dietary Supplement Fact Sheet: Vitamin B12". Office of Dietary Supplements, National Institutes of Health. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2554